EP.2-A02 ประชุมวิชาการ มานุษยวิทยา 65 หัวข้อ Emerging Methodologies - วิธีวิทยาทะลุกรอบ

106 View | 21 พ.ย. 2565

2

ปาฐกถา วิถีดนตรี วิธีวิทยาทะลุกรอบ Ethnomusicology and Emerging Methodologies
ปาฐกถาโดย อ.อานันท์  นาคคง

Ethnomusicology มานุษยวิทยาดนตรี/มานุษยดุริยางควิทยา/ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ เป็นแขนงความรู้ที่ผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ทางดนตรี music และเสียง sound/acoustics กับศาสตร์ในเครือข่ายความรู้ทางมานุษยวิทยา ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ดนตรีและเสียงผ่านพฤติกรรม รูปแบบดนตรี วัฒนธรรมความเชื่อ การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหลากชาติพันธุ์ ให้ความสำคัญกับทั้งมนุษย์กับเสียงและผลิตผลดนตรีที่เหมือนต่างหลากหลายในพื้นที่วัฒนธรรมต่าง ๆ ของโลก จนเกิดกระบวนการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังและมีการผลิตนักมานุษยวิทยาดนตรีขึ้นมาอย่างมีอัตลักษณ์ ที่ส่งผลกระทบในมิติต่าง ๆ ของสังคม เมื่อโลกก้าวมาถึงศตวรรษที่ 21 มานุษยวิทยาดนตรีในโลกกว้างขยายตัวขึ้นทั้งในด้านแนวคิดทฤษฎีใหม่ ๆ และวิธีปฏิบัติการข้ามพรมแดนความรู้ พรมแดนสังคมการเมือง ความเชื่อศาสนา ตั้งคำถาม ถกเถียงข้ามสาขา ทลายกรอบคิดมานุษยวิทยาดนตรีอนุรักษ์นิยมจนเกินกว่าที่จะจํากัดนิยามความหมายของดนตรีและเสียงในขนบเดิม ๆ อีกต่อไป นักมานุษยวิทยาดนตรีมีสนามความรู้และมีครูอยู่ทุกแห่งหน ตื่นตัวแสวงหาความเข้าใจใหม่ ๆ ต่อสรรพเสียงในทุกภูมิทัศน์  ไม่ว่าจะเป็น ดนตรีและเสียงของคน ผี เทวดา สัตว์ พืช สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ เครื่องจักรกลเทคโนโลยี ดนตรีและเสียงของสังคมเมือง ดนตรีและเสียงของเพศสภาพ ดนตรีและเสียงในโลกไซเบอร์ ฯลฯ เกิดวิธีวิทยาการเรียนรู้และการสังเคราะห์ความคิดในงานดนตรีและเสียงที่ซับซ้อน ลื่นไหล ไม่มีอะไรตายตัว

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง