(13A1) ปาฐกถา คุยกับวัตถุ: ประสบการณ์สนามต่างแดน จากพุกาม
โดย
ศ.ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่สองของการประชุมมานุษยวิทยา 66 "ชีวิตภาคสนาม Life, Ethnographically! วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 เราได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นองค์ปาฐก เวลา 09.00-10.00 น. ที่หอประชุม ชั้น 4 ในหัวข้อ "คุยกับวัตถุ: ประสบการณ์สนามต่างแดนจากพุกาม"
วัตถุไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ให้ความหมาย หรือจะเป็นวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นมา สามารถทำหน้าที่เป็นร่างทรงที่บรรจุอัดแน่นด้วยความหมายทางวัฒนธรรม ในบางกรณี วัตถุดำรงอยู่คงทนข้ามกาลเวลา เหมือนแคปซูลบรรจุความหมายจากอดีตที่ถูกส่งทอดมาถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี การสนทนากับวัตถุเพื่อเข้าถึงโลกวัฒนธรรมของอดีต เป็นกระบวนการซับซ้อนสูงในตัวเอง วัตถุเรียกร้องการสื่อความภายใต้ไวยากรณ์ของตนเอง ซึ่งคู่สนทนาจำเป็นต้องค้นหา วัตถุซ่อนรหัสนัยเชิงสัญลักษณ์ไว้ในตัวเองอย่างซับซ้อน ทั้งในฐานะเป็นผลผลิตของการสื่อความที่ถูกออกแบบมาอย่างจงใจ และในฐานะเป็นผลิตผลของระบบสื่อความภาคบังคับ ภายใต้บริบทที่ “วัตถุ” ถูกล้อมกรอบความหมาย ด้วยอุดมการณ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมของสังคม
ผู้บรรยายชักชวนผู้ฟังแลกเปลี่ยนประสบการณ์สนาม ในการหาทางสนทนากับจิตรกรรมฝาผนังนับร้อยแห่ง ในเมืองโบราณพุกาม เมียนมาร์ เพื่อบุกเบิกมิติความรู้ใหม่ ว่าด้วยวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทที่ดำรงอยู่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตั้งแต่เมื่อเกือบพันปีที่ผ่านมา
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00-10.00 น. ณ หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)