ชื่อผลงาน เดิ่ม: ดนตรีของอาข่า
ผศ.ดร.ธิติพล กันตีวงศ์
การนำองค์ความรู้มานุษยวิทยาดนตรี ร่วมกับเทคนิคการทำงานภาคสนาม วิธีการบันทึกเสียงภาคสนามเข้าด้วยกัน เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ "เดิ่ม" เครื่องดนตรีประเภทดีดและบทเพลงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย นำไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างฐานข้อมูลมานุษยดนตรีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในอนาคต
โครงการ Life and Sound: เสียงภาคสนาม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Life and Sound: เสียงภาคสนาม การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรมจุดเริ่มต้นของการค้นหาเสียงภาคสนาม คือการเปิดหู และเปิดใจ โดยไม่มองว่าเสียงจำเป็นต้องฟังเสนาะหูทุกครั้งไป เสียงจี่ของเหล็กในงานก่อสร้าง เสียงรถบรรทุกเร่งเครื่อง เสียงคนทะเลาะกัน เสียงนกร้อง เสียงต่าง ๆ เหล่านี้คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปศึกษา หรือใช้เป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อได้ โดยแนวคิดนี้ได้นำมาเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Life and Sound: เสียงภาคสนาม การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรมให้กับผู้สนใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิธีวิทยาและชาติพันธุ์นิพนธ์ของเสียง และเพื่อสร้างพื้นที่และสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการทำงานภาคสนามจริง รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายนักวิชาการ นักสร้างสรรค์ที่สนใจศึกษาเสียงทางมานุษยวิทยา
วันที่ 30 เม.ย. 2566 - 1 พ.ค. 2566
โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)