Posthuman anthropology series EP.10 | ที่อยู่ของผี (กะล้อห่อง)-ที่อยู่ของคน เส้นแบ่งและรอยต่อในการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนเป็นและคนตายชาวไทดำ

306 View | 23 พ.ย. 2565

1

Posthuman anthropology series EP.10 “ที่อยู่ของผี (กะล้อห่อง)-ที่อยู่ของคน เส้นแบ่งและรอยต่อในการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนเป็นและคนตายชาวไทดำ"

 

การบรรยายในครั้งนี้จะชวนพูดคุยถึงการศึกษาภาคสนามทางมานุษยวิทยา ในเรื่องการใช้พื้นที่ระหว่างคนและผี โครงสร้างเบื้องหลังการจัดแบ่งพื้นที่ของคนและผี รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างคนและผีบนเส้นแบ่งและรอยต่อของทั้งสองพื้นที่ ทั้งนี้ผ่านการศึกษาพื้นที่กะล้อห่องของชาวไทดำ ในบริเวณที่อยู่อาศัยของชาวไทดำนั้น กะล้อห่องเป็นพื้นที่ที่ถูกกำหนดขอบเขตในลักษณะของห้องหรือพื้นที่เฉพาะที่ถูกจัดแบ่งแยกออกจากพื้นที่อื่นๆของที่อยู่อาศัย แม้ว่าจะมีการกำหนดเส้นแบ่งในเชิงกายภาพเพื่อบ่งชี้ให้ผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยี่ยมเยือนรับทราบว่าพื้นที่ใดคือพื้นที่ใช้สอยทั่วไปของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และพื้นที่ใดคือพื้นที่เฉพาะของคนที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ทว่าเส้นแบ่งทางกายภาพนั้นมิใช่เส้นแบ่งเดียวที่ปรากฏในโลกทัศน์ของชาวไทดำต่อการกำหนดตำแหน่งและการจัดแบ่งพื้นที่ เหนือไปกว่าเส้นแบ่งทางกายภายยังมีเส้นแบ่งเชิงสัญลักษณ์อันเป็นเส้นแบ่งที่มีโครงสร้าง มีลำดับชั้น มีความหลากหลาย และมีความหมาย

3 ประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้

- ข้อถกเถียงเรื่องโครงสร้างและความสัมพันธ์เบื้องหลังเส้นแบ่ง (หรือรอยต่อ) ระหว่างพื้นที่ของผี

- (กะล้อห่อง) และพื้นที่ของคน

กรอบแนวคิด

- โครงสร้างและความสัมพันธ์ที่พบจากการศึกษากะล้อห่องใน 10 หลังคาเรือน

 

ชวนสนทนาโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานิดา บุญวรรโณ / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00–15.00 น.

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง