Posthuman anthropology series EP.5 | มานุษยวิทยาหลังมนุษยนิยม กับ Science/Climate Fiction

452 View | 23 พ.ย. 2565

1

บรรยายวิชาการออนไลน์ “มานุษยวิทยาหลังมนุษยนิยม กับ Science/Climate Fiction”

Posthuman anthropology series EP.5

.

มานุษยวิทยาหลังมนุษยนิยม (posthuman anthropology) มักสนใจทำความเข้าใจการประกอบสร้างโลก (worldings) ในรูปแบบความสัมพันธ์และภววิทยาที่หลากหลาย ท่ามกลางความท้าทายและวิกฤตการณ์ที่มนุษย์และสรรพสิ่งต้องเผชิญร่วมกัน นักมานุษยวิทยา Donna Haraway ชวนให้เราอยู่ร่วมกับโลกที่เต็มไปด้วยปัญหานี้ผ่าน SF: science fiction, speculative fabulation, speculative feminism, string figures, so far...

.

การเสวนาในครั้งนี้จะชวนทุกท่านร่วมสำรวจเรื่องเล่าและความเป็นไปได้ของโลกที่แตกต่าง ผ่านวรรณกรรมที่อิงอยู่กับวิทยาศาสตร์และสภาพดินฟ้าอากาศ (science and climate fiction : sci-fi / cli-fi) เรื่องเล่าไม่เพียงแต่เป็นสื่อที่ช่วยให้เราจินตนาการถึงโลกทางเลือกเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่สะท้อนและตั้งคำถามกับปัจจุบัน รวมถึงช่วยสร้างอนาคตและความหวังให้กับโลกใบนี้อีกด้วย

.

รศ.ดร.จักรกริช สังขมณี จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะชวนพูดคุยถึงความเชื่อมโยงระหว่างมานุษยวิทยากับ sci-fi / cli-fi ผ่านนักเขียนและผลงานที่มีความเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับมานุษยวิทยา โดยเฉพาะงานของ Ursula K. Le Guin (The Left Hand of Darkness, The Dispossesed), Kurt Vonnegut (Cat’s Cradle) และ Jeff VanderMeer (Southern Reach Trilogy)

.

ในโลกที่ยากจะคาดการณ์นี้ speculative fabulation หรือเรื่องเล่าว่าด้วยโลกที่ยังมาไม่ถึง จะช่วยให้เราทำความเข้าใจ ทดสอบจินตนาการ และเคารพความเป็นไปได้อื่นๆ มากน้อยเพียงไหน มาร่วมกันเรียนรู้ผ่านวรรณกรรมที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกเสมอไป

.

บรรยายโดย

รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

เวลา 13.00–15.00 น.

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง