กิจกรรมเล่าสู่กันฟังเรื่องหนังสือครั้งที่ 15 เรื่องเล่า ข้าวของ ในท้องถิ่น

1 ชั่วโมง 59 นาที | 776 View | 06 พ.ค. 2560

0

เรื่องเล่า ข้าวของ ในท้องถิ่น

โดย คุณนวลพรรณ บุญธรรม, คุณจุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์, คุณรุ้งตะวัน อ่วมอินทร์ และ คุณดอกรักพยัคศรี

กิจกรรมเล่าสู่กันฟังเรื่องหนังสือครั้งที่ 15 "เรื่องเล่า ข้าวของ ในท้องถิ่น"

วิทยากรโดย นักวิชาการ ศมส.

คุณนวลพรรณ บุญธรรม
คุณจุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์
คุณรุ้งตะวัน อ่วมอินทร์
และ คุณดอกรักพยัคศรี

ทั้ง 4 ท่านเป็นผู้ร่วมกันเขียนหนังสือชุด "ย้อนทวนความหมาย ของ(ไม่)ธรรมดา" เล่ม 1,2

วันอังคารที่ 31 มกราคม 2560
เวลา 13.30 - 15.30 น.
ณ ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

---------------------------------------------------------------------

หนังสือ Re-collection ย้อนทวนความหมาย “ของ” [ไม่]ธรรมดา เล่ม1 และ2 ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในวาระครบรอบ 25 ปี ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ภายใต้การนำเสนองานด้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และเครือข่ายท้องถิ่น อันเป็นงานที่ศมส. เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อศึกษาปัจจัยการดำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกันก็ได้ทำการส่งเสริมทักษะต่างๆในด้านพิพิธภัณฑ์ ผ่านการอบรมต่างๆ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการการทำทะเบียนวัตถุ, การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชาวพิพิธภัณฑ์สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลบริหารพิพิธภัณฑ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหาภายในหนังสือชุดนี้ เป็นการหยิบยกเอาวัตถุต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์เป็นสื่อในการสร้างกระบวนการร้อยเรื่องราว โดยเชื่อมโยงเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมาร่วมกิจกรรมกว่า 32 แห่ง และเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน จนนำไปสู่การทวนความหมายและตีความวัตถุจัดแสดงที่มีในพิพิธภัณฑ์ของตนเอง เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆต่อวัตถุให้มีมุมมองและขยายขอบเขตการเรียนรู้ให้มากขึ้น ทั้งยังนำเสนอผ่านการจัดกลุ่มของวัตถุต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกัน กว่า6 กลุ่ม เช่น ของใช้ในบ้าน ประกอบด้วยบทความอย่าง “กัวะป๋งข้าว จากของใช้ในครัวเรือนสู่ของประดับตกแต่ง” , “ไม้เป้เกี๊ยะ คู่มือคนทำกะปิ” หรือ ศาสนาและความเชื่อ “ผ้าหุ้มธรรมมาสน์ สรัทธาธรรมทาสชาวเกาะยอ” และ “จางอ๊ะย่าง ชุดบวชของชาวมอญวัดคงคาราม” เป็นต้น

การจัดทำหนังสือชุดนี้นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารความรู้ออกสู่สาธารณะแล้ว ยังเป็นการบันทึกเรื่องราวและคุณค่าของวัตถุซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้คนและ พื้นที่ ในช่วงเวลาที่กำลังลบเลือนไป จากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีทันสมัย ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเจ้าของวัฒนธรรม ที่อาจนำปสู่การเป็นแรงบันดาลใจที่จะนำไปทดลองทำต่อ เพราะความรู้และกระบวนการสร้างความรู้นั้น สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา และปรับเปลี่ยนไปตามการตีความของผู้คนแต่ละยุคสมัย แต่ละพื้นที่

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง