Fieldwork Story ตอนที่ 3 นี้เปิดให้ผู้สนใจทุกคนได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อบอกเล่าความเป็นมาของพ่อค้าชาวมุสลิมดาวุดีโบห์รา (Dawoodi Bohra) จากแคว้นคุชราต ประเทศอินเดีย ที่เข้ามาตั้งรกรากในแผ่นดินสยามซึ่ง นับว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ทางศาสนา (Ethnoreligious group) กลุ่มหนึ่งที่มีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนความหลากหลายของกรุงเทพมหานครที่จะนำไปสู่ความเข้าใจทางวัฒนธรรมของประเทศไทยอีกด้วย
โดยในงานจะนำเสนอองค์ความรู้ภาพรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร การสืบค้นบริบททางประวัติศาสตร์และการค้าของชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดียผ่านเอกสารจดหมายเหตุ (หนังสือและวารสารเก่า) และการทำงานภาคสนามในพื้นกรุงเทพฯ ที่มีชาวมุสลิมอยู่อาศัย และทำความเข้าใจวิถีความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวมุสลิมดาวุดีโบห์รา ตลอดจนได้ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการผู้ดำเนินงานศึกษาค้นคว้าและอนุรักษ์จดหมายเหตุในบ้านอับดุลราฮิม ซึ่งมีอายุครบ 150 ปี และเป็นที่เก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุอันทรงคุณค่า อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารความร่วมมือระหว่าง ศมส. และมูลนิธิคุณแม่เชย อับดุลราฮิม ในการพัฒนาฐานข้อมูลหนังสือเก่าชาวสยามและจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยา เป็นช่องทางเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบดิจิทัลสู่สาธารณะได้อีกด้วย
ร่วมแลกเปลี่นกันในประเด็น
การตั้งถิ่นฐานและความหลากหลายของชาวมุสลิมในบางกอก โดย สุนิติ จุฑามาศ นักวิจัย ศมส.
สำรวจการค้าของชาวมุสลิมจากหนังสือเก่าและสื่อสิ่งพิมพ์ โดย อาจารย์ สมาน อู่งามสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเก่ามุสลิมในไทย
จากคุชราตสู่สยาม: ศรัทธาและวิถีชีวิตของชาวมุสลิมดาวุดีโบห์ราในประเทศไทย โดย พ.อ.สิทธิโชค มุกเตียร์ กรรมการมัสยิดเซฟี
อับดุลราฮิมในแผ่นดินสยาม โดย รศ.ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2565
เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)