บรรยายวิชาการออนไลน์ Fieldwork Story EP.4 หัวข้อ “audio-visual ethnography กับงานสนามทางมานุษยวิทยา”
การบรรยายครั้งนี้ เป็นการเกริ่นนำความสำคัญในการใช้สื่อด้านภาพและเสียงในกระบวนการค้นหาความรู้ทางมานุษยวิทยา ทั้งในระดับวิธีการและวิธีวิทยา การบรรยายจะย้อนกลับไปให้ความสำคัญกับบริบททางประวัติศาสตร์ช่วงอาณานิคม การวิพากษ์วิจารณ์ในยุคหลังอาณานิคม และจุดเปลี่ยนด้านภววิทยาและเทคโนโลยี ในข้อถกเถียงร่วมสมัยทางมานุษยวิทยาเป็นหัวใจสำคัญ
พิจารณาในแง่นี้ ชาติพันธุ์นิพนธ์ว่าด้วยโสตทัศน์จึงได้กลายเป็นหนทางสำคัญในการเชื่อมโยงกระบวนการวิจัยทางมานุษยวิทยาและการสื่อสารกับสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งยังมีศักยภาพในการนำเสนอเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้มีลักษณะที่เข้าถึงง่ายและสามารถถ่ายทอดของอารมณ์ ความรู้สึก และมิติเชิงสุนทรีย์ศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจและเข้าไปข้างในใจของมิติและเงื่อนไขความเป็นมนุษย์
บรรยายโดย
อ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย
อภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 เวลา 10.00-12.00 น.
โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)