โรงพยาบาลแห่งการดูแล การออกแบบโรงพยาบาลที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยา
โดย สำเนียง ทองทิพย์ | พว.พรทิพย์ มีโภคา | พว.ดวงสุดา วัฒนธัญญการ | พว.นันทา พึ่งพันธ์ | ชัชชล อัจนากิตติ | ณัฐนรี ชลเสถียร
บรรยายวิชาการ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.10 หัวข้อ โรงพยาบาลแห่งการดูแล : การออกแบบโรงพยาบาลที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยา
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2566 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ริเริ่มโครงการออกแบบโรงพยาบาลเพื่อการใส่ใจดูแล (Hospital Design for Humanized Care) เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างลึกซึ้งด้วยความรู้ทางมานุษยวิทยา และส่งเสริมให้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาและออกแบบระบบบริการที่เน้นการใส่ใจดูแลที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลาง (person-centered care) ซึ่งสะท้อนผ่านโครงการต้นแบบต่าง ๆ อาทิ การลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยนอก การสร้างประสบการณ์ที่ดีในกลุ่มผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่มาพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย การสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่ไร้รอยต่อ หรือการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำงานของบุคลากร เป็นต้น
การเสวนานี้จะเป็นบอกเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การออกแบบโรงพยาบาลโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และริเริ่มการเปลี่ยนแปลงในโรงพยาบาลนำร่องทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.นครนายก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จ.ราชบุรี และ โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ กรุงเทพฯ
วิทยากร
สำเนียง ทองทิพย์ / ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พว.พรทิพย์ มีโภคา, พว.ดวงสุดา วัฒนธัญญการ / โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
พว.นันทา พึ่งพันธ์ / โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง
ดำเนินรายการ ชัชชล อัจนากิตติ และณัฐนรี ชลเสถียร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567เวลา 13.00-15.00 น.