เสวนาวิชาการ สื่อกับการบันทึกวัฒนธรรม และ ชมสารคดี แม่โพสพในบริบทการเปลี่ยนแปลง

1 ชั่วโมง 22 นาที | 634 View | 17 ต.ค. 2559

0

สื่อกับการบันทึกวัฒนธรรม และชมสารคดี แม่โพสพในบริบทการเปลี่ยนแปลง

โดย มานะ เถียรทวี, พิสุทธิ์ ศรีหมอก ,อภินันท์ ธรรมเสนา , ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

เสวนาวิชาการ “สื่อกับการบันทึกวัฒนธรรม” และชมสารคดี “แม่โพสพในบริบทการเปลี่ยนแปลง”

แม่โพสพ ถือเป็นเทพีแห่งข้าวที่ปรากฎอยู่ในสังคมเกษตรกรรมโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมักผูกโยงกับเรื่องราวเหนือธรรมชาติเช่นการบันดาลให้ข้าวออกรวงดีสามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังถือเป็นเทพีที่มีบุญคุณสำหรับมนุษย์เพราะ “ข้าว” ถือเป็นอาหารหลักของผู้คนในแถบนี้ ทำให้เกิดประเพณีต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับ แม่โพสพ และข้าว เช่น การทำขวัญข้าว หรือการตั้งบูชาเทวรูปของพระแม่โพสพไว้ในบ้านหรือตามสถานที่ต่างๆในอดีต

สำหรับประเทศไทยนั้นถือได้ว่ามีผูกพันอยู่กับวัฒนธรรมข้าวเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นอาหารหลักแล้ว ยังถือเป็นสินค้าส่งออกหลักมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในสมัยรัชกาลที่5 นำไปสู่การทำนำแบบอุตสากรรม คือ เน้นการปลูกข้าวในปริมาณมากๆ อย่างไรก็ดีการปลูกข้าวแบบอุตสาหกรรมมิได้ทำให้พิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับแม่โพสพและข้าวลดทอนไปอย่างใด

อย่างไรก็ดี ศมส. ในฐานะองค์กรทางวิชาการที่มุ่งศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และความเป็นอยู่ ได้ทำการศึกษาพื้นที่ตัวอย่าง “ชุมชนท่าพูด” จ.นครปฐม ร่วมกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมข้าวของชุมชนแห่งนี้ เนื่องจากชุมชนท่าพูดครอบคลุมพื้นที่สองฝั่งแม่นำ ท่าจีน และเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าวและพืชสวนอย่างแพร่หลายเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาอุตสาหกรรม

ความพิเศษของชุมชนแห่งนี้นอกจากจะเป็นชุมชนที่ทำนาปลูกข้าวอย่างแพร่หลายและไม่ไกลจากเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยตึกและถนนอย่างกรุงเทพมหานครแล้ว ชุมชนท่าพูดยังคงรักษารูปแบบพิธีกรรม “ทำขวัญข้าว” ไว้ ถึงแม้จะไม่ครึกครื้นและเป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดิมสำหรับคนรุ่นใหม่แล้วก็ตาม

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2559
ณ ห้องมัลติมีเดีย ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง