EP.6 | Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series หัวข้อ ความรู้ใหม่จากภาคสนาม: การสำรวจตำแหน่งจารึกเขมรโบราณในภาคอีสานและภาคตะวันออก

469 View | 15 ก.ค. 2567

1

บรรยายวิชาการออนไลน์ Memory, Mobility & Multiplicity : The 3M series EP.6 หัวข้อ ความรู้ใหม่จากภาคสนาม: การสำรวจตำแหน่งจารึกเขมรโบราณในภาคอีสานและภาคตะวันออก

 จารึกถือเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ให้ข้อมูลร่วมสมัยหรือใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ทำจารึก ดังนั้นการศึกษาข้อมูลจากจารึกย่อมมีความแม่นยำกว่าการศึกษาหนังสือประเภทตำนานและพงศาวดาร อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ จารึกโดยเฉพาะศิลาจารึกนั้น แม้มีน้ำหนักมาก แต่ก็เป็นวัตถุที่เคลื่อนย้ายได้ ทำให้ศิลาจารึกที่แต่เดิมตั้งอยู่เป็นสาธารณะนั้น ก็ย่อมมีโอกาสถูกเคลื่อนย้าย หรือแม้กระทั่งถูกทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวจารึก

     ที่ผ่านมา กรมศิลปากรได้สำรวจตำแหน่งที่พบจารึกต่าง ๆ ในประเทศไทย และพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือชุดจารึกในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ซึ่งมีทั้งจารึกที่ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีแล้วในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่าง ๆ กระนั้น ผ่านไปกว่า 30 ปี จารึกเหล่านี้ ได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่จัดเก็บใหม่ ทำให้ชุดข้อมูลดังกล่าวต้องการปรับปรุง ศมส. ได้เล็งเห็นประเด็นสำคัญนี้ จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยในปีงบประมาณ 2564 เพื่อสำรวจสถานภาพจารึกเขมรโบราณที่มีรายงานว่าพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย

     โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ได้ออกสำรวจทั้งสถานที่เก็บรักษาจารึก ณ ปัจจุบัน และสถานที่ที่ถูกระบุว่าเป็นที่ตั้งเดิมของจารึก เพื่อจัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศของจารึกเขมรโบราณในประเทศไทย อีกทั้งนำเสนอความรู้ใหม่ที่ได้จากการตรวจสอบเอกสารที่อ้างถึงตำแหน่งที่ค้นพบและการเคลื่อนย้ายจารึก รวมไปถึงความรู้ใหม่จากการสำรวจภาคสนามในครั้งนี้อีกด้วย

วิทยากร รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดำเนินรายการ สุนิติ จุฑามาศ นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กามหาชน)

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6

โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง