EP.11 | MEMORY, MOBILITY & MULTIPLICITY: THE 3M SERIES หัวข้อ นูษานตระหลังศรีวิชัยศตวรรษที่ 13-15 ร่องรอยจาก เทศวรรณนา ปะราระโตน และ ฮิกายัต ราจา-ราจา ปาไซ

2 ชั่วโมง 20 นาที | 210 View | 01 ส.ค. 2567

0

นูษานตระหลังศรีวิชัยศตวรรษที่ 13-15 : ร่องรอยจาก “เทศวรรณนา” “ปะราระโตน” และ “ฮิกายัต ราจา-ราจา ปาไซ”

โดย ดร.ตรงใจ หุตางกูร และ สุนิติ จุฑามาศ นักวิจัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

บรรยายวิชาการ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.11

หัวข้อ นูษานตระหลังศรีวิชัยศตวรรษที่ 13-15: ร่องรอยจาก “เทศวรรณนา” “ปะราระโตน” และ “ฮิกายัต ราจา-ราจา ปาไซ”

นูษานตระ” (นู-ษาน-ตะ-ระ; Nūṣāntara; หรือ นุซันตารา) เป็นชื่อที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างสำนึกรวมชาติของประเทศอินโดนีเซีย ภูมิหลังของนามนี้ คือการสืบทอดอุดมการณ์ความเป็นสมุทราธิปัตย์ หรือ “เจ้าสมุทร” ของศรีวิชัย ที่ปกครองเขตแดนที่เรียกว่า “น่านสมุทรคาบหมู่เกาะ” หรือ “ทวีปานตระ” (ทวี-ปาน-ตะ-ระ) ตามโลกทัศน์อินเดียโบราณ อันมีอาณาบริเวณตั้งแต่ช่องแคบมะละกา ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และทะเลชวา

อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 13-15 นั้น ศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงแล้ว และมีกลุ่มอำนาจใหม่เกิดขึ้น คือชาวชวาแห่งมัชปาหิตที่ต้องการสถาปนาความเป็นสมุทราธิปัตย์ผ่านการพิชิต “นูษานตระ” ตามโลกทัศน์ชวา

การบรรยายนี้จะขอกล่าวถึงกลุ่มอำนาจบนเกาะชวาในนามอาณาจักรสิงหะส่าหรี-มัชปาหิต กับกลุ่มอำนาจบนเกาะสุมาตราในนามอาณาจักรสมุทรา-ปาไซ โดยอิงข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ 3 เรื่องคือ “เทศวรรณนา” “ปะราระโตน” และ “ฮิกายัต ราจา-ราจา ปาไซ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หนังสือชุด “นูษานตรคดี” ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทแปลภาษาไทยของเอกสารประวัติศาสตร์ทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว และกำลังดำเนินการจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเผยแพร่ภายในปี 2567 นี้

วิทยากร

ดร.ตรงใจ หุตางกูร

สุนิติ จุฑามาศ

นักวิจัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567

เวลา 13.00-15.00 น.

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง