พิธีเปิดนิทรรศการและเสวนาวิชาการ “สักลาย: ศิลปะแห่งศรัทธาบนเรือนร่าง”

4 ชั่วโมง 25 นาที | 855 View | 08 ก.ย. 2565

0

“สักลาย: ศิลปะแห่งศรัทธาบนเรือนร่าง”

โดย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, Gregory Kourilsky, Olivier de Bernon, พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ, ภูเดช แสนสา, ดอกรัก พยัคศรี, พระอาจารย์ศุภชัย ชยสุโภ, ศราวุธ แววงาม, พงศธร บัวคำปัน, อาจารย์ละดา ศรีอุเบท, ประยูร ไพรบุญเลิศ, เดอซอ ศรีอุเบท

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศ (École française d'Extrême-Orient (EFEO)) เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและคลังข้อมูลชุมชน ร่วมจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสักและวัฒนธรรมการสักที่ปรากฏอยู่ในสังคมในพื้นที่ดินแดนประเทศไทยและกัมพูชาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความหลากหลายของบุคคลในระดับปัจเจก รวมถึงจะสร้างบทสนทนาโต้ตอบกับผู้เข้าร่วมงาน ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการและการเสวนาวิชาการในพื้นที่เรียนรู้ของ ศมส.

การจัดแสดงนิทรรศการจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7 กันยายน – 30 ธันวาคม 2565 โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ (1) ชุดนิทรรศการภาพสักยันต์เนื่องในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของพระและเกจิอาจารย์จากประเทศกัมพูชาและประเทศไทยที่บันทึกไว้โดย โอลิวิเย่ร์ เดอ แบร์นง (Olivier de Bernon) และฟรองซัวส์ ลาจิราร์ด (François Lagirard) นักวิชาการของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศ (École française d'Extrême-Orient (EFEO)) และ (2) ชุดนิทรรศการภาพถ่ายของกลุ่ม “คนป่าบ้าขาลาย” กลุ่มคนที่ศึกษา สืบค้น อนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่วัฒนธรรมการสักขาลายโบราณล้านนา ผู้ถ่ายบันทึกประเพณีการสักขาลาย หรือการสักลายในบริเวณต้นขาและลำตัวช่วงล่างเพื่อการปกป้องคุ้มครองภัย โดยประเพณีดังกล่าวยังเป็นที่ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ โดยอาจารย์สักตามหมู่บ้านชนบทชายแดนทางเหนือของประเทศไทยบางแห่ง ลายสักกลุ่มนี้มีแม่ลายมาจากฐานความเชื่อและสุนทรียศาสตร์ของท้องถิ่น ไม่ได้มีที่มาจากแบบแผนหรือแนวคิดทางพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย

ในขณะที่การเสวนาวิชาการ ที่จะจัดขึ้นวันที่ 7 กันยายน 2565 จะเป็นการบรรยายและพูดคุยเชิงวิชาการประกอบนิทรรศการ โดยนักวิชาการชาวไทยและชาวต่างชาติ พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลความรู้ที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากนิทรรศการ ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องและพัฒนาการของการสักกับบริบททางประวัติศาสตร์และบริบททางสังคมวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภายในวันดังกล่าว ยังมีการสาธิตการสักขาลายของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนการสัก ได้พูดคุยกับอาจารย์สักลาย และยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ด้านผัสสะกับผู้เข้าชม

 

กำหนดการและกิจกรรม

  • นิทรรศการ “สักลาย: ศิลปะแห่งศรัทธาบนเรือนร่าง”  วันพุธที่ ๗ กันยายน – วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕
  • เสวนาวิชาการวัฒนธรรมการสักในประเทศไทยและกัมพูชา และสาธิตการสักขาลายโบราณ

วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ ณ หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. พิธีเปิดนิทรรศการ “สักลาย: ศิลปะแห่งศรัทธาบนเรือนร่าง”

                                   กล่าวต้อนรับ โดย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

                                   กล่าวเปิดนิทรรศการ โดย Gregory Kourilsky ผู้อำนวยการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO) กรุงเทพมหานคร

๑๔.๐๐ – ๑๔.๔๕ น. เสวนาวิชาการ “วัฒนธรรมการสักในกัมพูชา” / วิทยากร Olivier de Bernon สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO)

๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เสวนาวิชาการ “วัฒนธรรมการสักในล้านนา / วิทยากร พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ พิพิธภัณฑ์เมืองขุนควร วัดธรรมิการาม จ.พะเยา, อาจารย์ภูเดช แสนสา หอศาสตราแสนเมืองฮอม จ.แพร่, ดำเนินรายการ นายดอกรัก พยัคศรี นักวิชาการคลังข้อมูล ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. เสวนาวิชาการ “รอยสัก: บันทึกศรัทธาบนผิวหนัง และสาธิตการสักขาลายโบราณ  / วิทยากร พระอาจารย์ศุภชัย ชยสุโภ อาจารย์สักยันต์และสักขาลาย วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่, นายศราวุธ แววงาม ช่างสักขาลายโบราณ จ.เชียงใหม่, เสวนาและดำเนินรายการ นายพงศธร บัวคำปัน ผู้ช่วยวิจัย สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO)

                                 - สาธิตการสักขาลายโบราณ โดย อาจารย์ละดา ศรีอุเบท อาจารย์สักขาลาย, นายประยูร ไพรบุญเลิศ ล่ามและคนตรึงหนัง, เดอซอ ศรีอุเบท ผู้ช่วยสัก

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง