เสวนาวิชาการสาธารณะ หัวข้อ “จากนาครกฤตาคมและปาราราตอน สู่นูษานตระ : อินโดนีเซียกับการหวนหาอดีตอันรุ่งโรจน์”

3 ชั่วโมง 27 นาที | 511 View | 02 มิ.ย. 2565

0

“จากนาครกฤตาคมและปาราราตอน สู่นูษานตระ : อินโดนีเซียกับการหวนหาอดีตอันรุ่งโรจน์”

โดย ดร.เตช บุนนาค, ผศ.ดร.สุรศักดิ์ จำนงค์สาร, วงดนตรีการาวิตันประสานมิตร, ดร.ตรงใจ หุตางกูร, กัญญานาฏ ศิริปัญญา, สุนิติ จุฑามาศ

การเสวนาในครั้งนี้ประกอบด้วย 

 

กล่าวต้อนรับ โดย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายพิเศษเรื่อง “ประวัติศาสตร์กับการเมือง เรื่องชื่อประเทศ และนามเมืองหลวง อันเป็นมรดกจากสมัยจักรวรรดินิยม”โดย ดร.เตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

การแสดงดนตรี “กาเมลันชวา”โดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์ จำนงค์สาร และวงดนตรีการาวิตันประสานมิตร สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร

 

เสวนาทางวิชาการ : “จากนาครกฤตาคมและปาราราตอน สู่นูษานตระ: อินโดนีเซียกับการหวนหาอดีตอันรุ่งโรจน์”ดร.ตรงใจ หุตางกูรนายสุนิติ จุฑามาศนางสาวกัญญานาฏ ศิริปัญญา

โดยวงเสวนาจะพูดถึง ความสำคัญของโบราณวรรณกรรมแห่งชวา: (พรรณนาภูมิสถานแห่งอาณาจักรมัชปาหิต) และ “ปาราราตอน” (ตำนานวงศ์สิงหสาหรี-มัชปาหิต), ประสบการณ์จากการแปลเอกสารโบราณข้ามวัฒนธรรม จากทวีปานตระ (Dvīpāntara) สู่นูษานตระ (Nūṣāntara)นูษานตระ ในบริบทของ “นาครกฤตาคม” และ “ปาราราตอน”, ประเด็นที่น่าสนใจและวรรณคดีเปรียบเทียบ จากจาการ์ตาบนเกาะชวา สู่นูษานตระบนเกาะบอร์เนียว, วรรณกรรมส่องทางแก่ประวัติศาสตร์ .เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศอินโดนีเซียกำลังดำเนินการสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่และมีแผนในการเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2024 โดยใช้ชื่อเมืองหลวงว่า “นูษานตระ” (Nusantara) อันเป็นชื่อที่มีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ในการเรียกรวมพื้นที่หมู่เกาะต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ภาคพื้นสมุทร ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณของชวาสมัยสิงหส่าหรีและมัชปาหิต.ซึ่งเอกสารโบราณของชวาสมัยสิงหส่าหรีและมัชปาหิต เป็นเอกสารที่กำลังแปล ในโครงการวิจัยเอกสารโบราณสู่ความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม ปีที่ 2 ที่ได้ศึกษาแปลความเอกสารชวาโบราณ 2 ฉบับ คือ นาครกฤตาคม (Nagarakretagama) และ ปาราราตอน (Pararaton) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจพัฒนาการของเกาะชวาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสิงหสาหรี (Singhasari) และ อาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) ในช่วงศตวรรษที่ 13-14 และครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำองค์ความรู้ที่ ศมส. มีจากกาดำเนินการเอกสารทั้งสองฉบับ มาเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจบริบททางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ จารีตประเพณี ตลอดจนความรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และภาษาศาสตร์ ตลอดจนแนวคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่และรัฐประศาสโนบายของประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนที่มีความสำคัญและมีสัมพันธ์กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง