EP.3 | บรรยายวิชาการออนไลน์ Series SAT-SHA หัวข้อ งานวิจัยดนตรีในประเทศไทย

1 ชั่วโมง 48 นาที | 1.1K View | 09 ก.ย. 2567

1

งานวิจัยดนตรีในประเทศไทย

โดย อาจารย์อานันท์ นาคคง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับโครงการขับเคลื่อนวาระวิจัยสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เชิญผู้สนใจฟังบรรยายวิชาการออนไลน์

Series SAT-SHA - EP.3

หัวข้อ งานวิจัยดนตรีในประเทศไทย

ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ต้องใช้ทักษะ การฝึกฝน และความสามารถเฉพาะบุคคลในการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งยังเป็นเรื่องสุนทรียะ เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่สร้างจินตนาการให้กับการมีชีวิตและการอยู่ในสังคม ความหมายและหน้าที่ของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมจึงมีหลากหลาย มีความเกี่ยวข้องในด้านสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา ประเพณี ความเชื่อ โลกทัศน์ และการเมือง

            การเสวนาครั้งนี้จะทบทวนว่าการวิจัยทางดนตรีในประเทศไทยสนใจเรื่องราวประเภทไหน การสนับสนุนงานวิจัยดนตรีมีข้อจำกัดและความท้าทายอะไรบ้าง นักวิชาการด้านดนตรีสามารถมีพื้นที่ให้ทำงานวิจัยและสะท้อนปัญหาสังคมมากน้อยเพียงใด ภายใต้ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ความรู้ด้านดนตรีเป็นเรื่องเดียวกับสินค้าวัฒนธรรม การตลาด หรือเป็นการวิพากษ์ระบอบอำนาจที่ดำรงอยู่ในวงการดนตรี

วิทยากร

อาจารย์อานันท์ นาคคง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดำเนินการเสวนา ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567

เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้อง s.a.c studio live

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง