Posthuman anthropology series EP.4 | ความลื่นไหลของวัตถุในงานโบราณคดีและมุมมอง Material Culture

2 ชั่วโมง 13 นาที | 937 View | 20 ม.ค. 2565

0

ความลื่นไหลของวัตถุในงานโบราณคดีและมุมมอง Material Culture

โดย ดร.ภีร์ เวณุนันทน์ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

บรรยายวิชาการออนไลน์

Posthuman anthropology series

EP.4 “ความลื่นไหลของวัตถุในงานโบราณคดีและมุมมอง Material Culture”

จากโบราณวัตถุ (artefacts) โบราณสถาน หรือภูมิทัศน์ทางโบราณคดี (archaeological landscape) มนุษย์ในอดีตใช้โลกแห่งวัตถุเพื่อเป็นสื่อกลางแสดงถึงความคิด ตัวตน และการกระทำ รวมถึงมิติทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สัญลักษณ์ และความเชื่อ

การ “สร้าง” อดีตของโบราณคดีส่วนหนึ่งจึงตั้งอยู่บนการมองหา พัฒนา และทดลองแนวทางและวิธีการศึกษาเพื่อแปลความวัตถุทางวัฒนธรรม (material culture) หรือก็คือวัตถุที่หลงเหลือและเป็นตัวแทนของกิจกรรมของมนุษย์ และปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาและสถานที่ต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การทำความเข้าใจบทบาทของวัตถุในโลกของมนุษย์ในอดีต และปัจจุบัน

การบรรยายครั้งนี้ชวนพูดคุยเกี่ยวกับวัตถุทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองทางโบราณคดี แนวคิด การเปลี่ยนแปลงของมุมมองทางโบราณคดีที่มีต่อวัตถุทางวัฒนธรรม และแนวทางที่นำมาใช้ในการศึกษาในงานโบราณคดี รวมไปถึงการเลื่อนไหลของความหมายของโบราณวัตถุในโลกปัจจุบัน

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง