Michel Foucault มิแช็ล ฟูโกต์

6 นาที | 938 View | 04 มิ.ย. 2563

0

Michel Foucault มิแช็ล ฟูโกต์

โดย อ.บัณฑิต ไกรวิจิตร

คลิปประกอบในนิทรรศการ "มานุษยวิทยาร่วมสมัย : สายธารความคิดมานุษยวิทยาสากลสู่มานุษยวิทยาไทย"
Michel Foucault มิแช็ล ฟูโกต์
 

มิแช็ล ฟูโกต์ (Michel Foucault, 1926-1984) นักคิดที่มีคุณูปการอย่างสูงต่อวงการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มิแช็ล ฟูโกต์เป็นทั้งนักปรัชญา นักทฤษฎีสังคม และนักวิจารณ์วรรณกรรมฝรั่งเศส เขาได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยแห่งฝรั่งเศส (Collège de France) ซึ่งถือเป็นเกียรติยศสูงสุดทางวิชาการของฝรั่งเศส

ฟูโกต์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ (power/knowledge) และวาทกรรม (discourse) ซึ่งเป็นเครื่องมือควบคุมสังคม

ฟูโกต์ยังเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของโลกที่ช่วยปลดเปลื้อง ความคิดของคนในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เป็นอิสระจากขอบเขต กฎเกณฑ์ต่างๆ ส่งผลต่อปัญญาชนทั่วโลก ความคิดของฟูโกต์ยังส่งผลต่อคนต่ำต้อยด้อยสิทธิ์ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ผู้หญิง กลุ่มคนที่ถูกกดทับ เช่น เด็ก คนแก่ คนไข้ นักโทษ กลุ่มเกย์ เลสเบียน คนจน คนจร ชาวสลัม คนพิการ รวมทั้งต่อการต่อสู้ของประชากรทั้งหมดในประเทศอดีตอาณานิคม (post colonials)

'วิทยาศาสตร์ของมนุษย์ (The Human Sciences) เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นอีกบ้าง บรรทัดฐาน กฎระเบียบ และระบบของสังคมกลายเป็นฐานโครงสร้างวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาศาสตร์ของมนุษย์กับประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของชีวิต การทำงาน และภาษาที่มนุษย์พบเจอ คิดค้นและเป็นผล จนทุกวันนี้ ประสบการณ์ที่ว่าเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านทางภาษา แต่การหา "ภาษา" จากหนังสือนั้นบางครั้งก็ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับเราได้อย่างที่เราประสบด้วยตนเอง'

The Order of Things: An Archaeology of

the Human Sciences. (1966)

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง