EP.1 | เสวนาวิชาการ ผู้คน ชุมชม เจ้าพระยา : ข้อมูลและมุมมองทางวัฒนธรรม

1 ชั่วโมง 26 นาที | 818 View | 08 ธ.ค. 2559

0

พิธีเปิด, ปาฐกถาพิเศษ

โดย เอนก สีหามาตย์, ผศ.ชวลิต ขาวเขียว, ศ.(พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
จัดงานเสวนาวิชาการ "ผู้คน ชุมชม เจ้าพระยา : ข้อมูลและมุมมองทางวัฒนธรรม"

กล่าวต้อนรับ
โดย เอนก สีหามาตย์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

กล่าวเปิดงาน
โดย ผู้ช่วยศาตราจาย์ชวลิต ขาวเขียว 
คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปาฐกถาพิเศษ
โดย ศาตราจาย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2559
ณ หอประชุม ชั้น 5 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ภาพบรรยากาศงานเสวนา : http://channel.sac.or.th/th/website/picture/picdetail/31109/561

-----------------------------------------------------

รายการวีดีโอที่เกี่ยวข้อง

เสวนากลุ่ม หัวข้อ "ผู้คน ชุมชม เจ้าพระยา : ข้อมูลและมุมมองทางวัฒนธรรม"
โดย คุณวโรภาส วงศ์จตุรภัทร, คุณอดุลย์ โยธาสมุทร, ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, อ.ศศิธร ศิลป์วุฒยา
http://channel.sac.or.th/th/website/video/detail_news/2166

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสรุปประเด็นการประชุม
http://channel.sac.or.th/th/website/video/detail_news/2167

=================================
หากจะกล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสยามตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จะเห็นได้ว่ามีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เนื่องจากใช้ "คลอง" เป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่สำคัญ เพราะสามารถใช้เรือเป็นพาหนะไปยังที่ต่างๆได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดการขุดคลองขึ้นเพื่อการสัญจรเป็นสำคัญดังจะเห็นได้จากภาพวาดกรุงศรีอยุธยาจากจิตกรชาวตะวันตกที่ได้มาเยือนในสมัยนั้น

กรุงเทพมหานคร ถึงแม้จะมิได้ถูกถอดแบบมาจากอยุธยาอย่างสิ้นเชิงหากแต่ผู้คนที่ร่วมกันสร้างกรุงเทพมหานครนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากอยุธยาทั้งสิ้น ทำให้วิถีชีวิตบางอย่างยังคงถูกดำเนินมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แม่น้ำและคลองเป็นทางสัญจรหลักที่สำคัญ 

"แม่น้ำเจ้าพระยา" มีความสำคัญมาตลอดการก่อตั้งกรุงเทพฯ เพราะเป็นแม่น้ำสายใหญ่และสำคัญที่ผ่ากลางกรุงเทพฯ ทำให้สามารถพบเห็นวิถีชีวิตของผู้คนได้ตั้งแต่วังของพระเจ้าแผ่นดิน คฤหาสน์ของขุนนาง สถานทูตของต่างประเทศ เรือนแพของคนทั่วไป ตลอดจนชุมชนต่างๆที่ตั้งอยู่สองริมฝั่งที่มีความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ชุมชนวัดกัลยาฯ ที่ประกอบไปด้วยชุมชนของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่นับถือคริสตศาสนา

ด้วยความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว ยังถือเป็นสายเลือดสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน ดังจะเห็นได้จากการขุดคลองเชื่อมไปยังพื้นที่ต่างๆทั้งในการค้าขาย และขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของคนในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนการเข้าสู่ยุคอุตสากรรมมาโดยตลอด

นอกจากนี้แม้น้ำเจ้าพระยายังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในแง่ของพิธีกรรม และการท่องเที่ยวอย่างพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐิน หรือการแสดงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่ปรากฎต่อสายนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นภาพจำของกรุงเทพมหานครอันประกอบไปด้วยศาสนสถานอย่างเจดีย์วัดอรุณราชวรารามฯ พระบรมมหาราชวัง โบสถ์พระแม่ลูกประคำ (กาลหว่าร์) เจดีย์สถาปัตยกรรมแบบจีนของวัดจีจินเกาะ เป็นต้น

ด้วยความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนทัศนียภาพอันเชื่อมโยงอยู่กับภาพจำของคนไทย และชาวต่างชาติเอง ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะส่งผลถึงผู้คนในระดับมหภาค ว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่มีหลายคำตอบ อันจะทำให้เกิดการวิพากษ์ซึงจะนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่มากที่สุด

นอกจากนี้ การเสวนาในครั้งนี้ยังเป็นการทบทวนความรู้ ความทรงจำของผู้คนที่มีต่อแม่น้ำลำคลองที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "แม่น้ำเจ้าพระยา" ที่ถูกลดทอนและแทนที่ด้วยรถยนตร์และถนนมาตั้งแต่ราวรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาอีกด้วย

=============================

ความคิดเห็น

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง